JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
 ยินดีต้องรับเข้าสู่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แสนสิริ โฮม แคร์  ทุกวัน 8.00 - 20.00   |   Call Center : 090-569-7945 , 096-405-1562   |   Map & Locations
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2016-02-24
จำนวนสมาชิก : 11 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 1,335,415 ครั้ง
Online : 18 คน
ใน » 0        

    การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ (UTI) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและมักเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอาการจะรู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ
แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน และในบางรายอาจรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

แบ่งการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็น 2 แบบ
1. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower urinary tract)ประกอบด้วยกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
2. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน(Upper urinary tract) ประกอบด้วยไตและกรวยไต

ปัจจัยต่อการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
1. พบเป็นมากในผู้หญิงมากว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะสั้นกว่า
2. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนช่วงตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือน
3. การตั้งครรภ์กดเบียดทับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะทำให้มีการอุดกั้น มีปัสสาวะตกค้าง
4. มีนิ่วในไต ท่อไต
5. ผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ทำให้ปัสสาวะกระปริปกระปรอย ตกค้างเชื้อโรคเจริญเติบโต
6. พฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะ
7. โรคภูมิต้านทานต่ำ เช่นโรคเบาหวาน หรือทานยากดภูมิคุ้มกัน
8. โรค/ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด จึงมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเสมอ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี
     เช่น ในผู้สูงอายุ ทีมีผู้หญิงที่มีโรคกระบังลมหย่อน
9. การใส่สายสวนปัสสาวะ
10. ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ

การสังเกตอาการ
1. มีไข้ มีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
2. ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็นฉุน
3. มีปัญหาปัสสาวะไม่สุด คั่งค้างต้องสังเกตปัสสาวะจำนวนครั้ง ปริมาณทุก 8-12 ชม.
4. เคยมีประวัติติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

การดูแลตัวเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

1.เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยา ปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยา
      เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และเชื้อดื้อยา ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้
2. ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
3. ไม่กลั้นปัสสาวะนาน พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก
4. งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าโรคจะหายแล้ว
5. สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อลดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ และปากท่อปัสสาวะ และเพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น
6. ในผู้หญิงควรล้างบริเวณอวัยวะเพศและปากท่อปัสสาวะจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดการปนเปื้อนแบคทีเรียจากปากทวารหนัก
7. หลังการขับถ่ายควรล้างด้วยน้ำสะอาด และซับให้แห้งเสมอ 
8. รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมลูกหมากโต
9. สังเกตอาการ ในผู้สูงอายุที่ใส่สายสวนปัสสาวะ ลักษณะสีและความสะอาดของถุงปัสสาวะ เปลี่ยนถุงตามกำหนดทุก 1 เดือน